Account Catalog v1
home
บัญชี
แบ่งเป็นประเภทดังนี้
- บัญชีเงินฝาก (Deposit Account)
- บัญชีเงินกู้ (Loan Account)
- บัญชีเงินกองทุน (Mutual Fund Account)
- บัญชีบัตรเครดิต (Credit Card Account)
- บัญชีประกัน (BANCassuance Account)
- บัญชีสินทรัพย์ (Treasury Account)
บัญชีเงินฝาก (Deposit Account)
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account: SDA)
บัญชีประเภทนี้เหมาะสำหรับการออมเงินในระยะสั้น หรือการเก็บเงินเผื่อไว้ยามใช้ฉุกเฉิน ถอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย เช่น ค่าใช้จ่ายรายเดือน การเก็บเงินไว้สำหรับการใช้จ่ายประจำวัน บัญชีประเภทนี้มักกำหนดเงินฝากขั้นต่ำไว้ไม่สูงและอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ
การเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ส่วนใหญ่ธนาคารจะให้สมัครบัตร ATM หรือบัตรเดบิต เพื่อสะดวกในการทำธุรกรรมด้วยตัวเองผ่านตู้ ATM แต่จะมีค่าธรรมเนียมในการใช้บัตรในแต่ละปีด้วย ที่สำคัญบางธนาคารมีการเสนอขายบัตรที่ผูกกับประกันอุบัติเหตุที่จะมีค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าปกติ ต้องศึกษาเงื่อนขและรายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจ
บัญชีเงินฝากประจำ (Fixed Deposit Account: DDA)
บัญชีเงินฝากประจำ เป็นบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาการฝากถอนที่แน่นอน เช่น 1 ปี 5 ปี และมีการจูงใจด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ธรรมดา เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เศรษฐกิจผันผวน จะได้มีบัญชีธนาคารที่มั่นคงสำหรับการออมเงิน บัญชีนี้เหมาะใช้สำหรับเก็บเงินเตรียมเกษียณ ผู้ที่มีเงินแต่ยังไม่ต้องการใช้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (เงินเย็น) หรือต้องการออมเงินระยะยาวและหวังผลตอบแทนในรูปแบบอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์
สำหรับเงินฝากประจำนั้นจะมีเงื่อนไขในการฝากเงินที่ไม่เหมือนบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เช่น หากถอนก่อนครบกำหนดก็อาจได้รับดอกเบี้ยน้อยกว่าอัตราที่สถาบันการเงินประกาศไว้ หรือธนาคารบางแห่งจะกำหนดให้ผู้ฝากเงินในบัญชีเงินฝากประจำเปิดบัญชีออมทรัพย์ด้วย เพื่อที่ธนาคารจะโอนดอกเบี้ยเข้าไปในบัญชีออมทรัพย์อัตโนมัติเมื่อครบกำหนดการจ่ายดอกเบี้ย หรืออาจโอนเงินต้นเข้าไปด้วยเมื่อครบกำหนดระยะเวลา
บัญชีเงินฝากประจำรายเดือนแบบปลอดภาษี
เป็นบัญชีเงินฝากประจำที่ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ต้องฝากเงินทุกๆ เดือนเป็นจำนวนเท่ากันตลอดอายุสัญญา ซึ่งระยะเวลาอาจกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละธนาคาร เช่น 24 เดือน 36 เดือนและมักกำหนดจำนวนเงินฝากขั้นต่ำไว้ไม่ต่ำกว่า 500 – 1,000 บาท ดังนั้น คนที่อยากเปิดบัญชีเงินฝากประเภทนี้ควรมีรายได้ประจำ และสามารถนำเงินเข้าบัญชีได้อย่างสม่ำเสมอ แต่ละคนมีสิทธิเปิดบัญชีเงินฝากประเภทนี้ได้เพียงคนละ 1 บัญชีเท่านั้น ถ้าขาดฝากเกินกว่าจำนวนครั้งที่กำหนดซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ไม่เกิน 2 ครั้ง ก็จะไม่ได้รับดอกเบี้ยตามที่ธนาคารประกาศ
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน หรือบัญชีเงินฝากเดินสะพัด (Current Account: CDA)
เป็นบัญชีที่มีไว้สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงินโดยเฉพาะ ถือว่าเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการเงินของบริษัทหรือร้านค้า เพราะสามารถใช้เช็คในการเบิกจ่ายเงินได้ บัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะไม่มีดอกเบี้ย
บัญชีประเภทนี้สามารถขอใช้วงเงินเบิกเกินบัญชี (overdraft) หรือที่เรียกว่าเงิน O/D ได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องในกรณีเงินขาดบัญชีและช่วยลดปัญหาเช็คเด้งได้ โดยต้องเสียดอกเบี้ยเฉพาะเงินส่วนที่เบิกเกินบัญชีตามระยะเวลาที่เบิกเกินบัญชี บัญชีประเภทนี้ไม่มีสมุดคู่ฝาก แต่สถาบันการเงินจะจัดส่งสเตทเมนท์ (statement) ทางไปรษณีย์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแจ้งยอดเคลื่อนไหวของบัญชีให้ลูกค้าทราบ
บัญชีเงินตราระหว่างประเทศ
บัญชีเงินตราระหว่างประเทศ คือบัญชีเงินฝากธนาคารที่เงินในบัญชีเป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ โดยบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในประเทศไทยสามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารรับอนุญาตในประเทศไทยได้ เป็นบัญชีเงินฝากที่เหมาะกับผู้ที่มีรายรับหรือมีภาระค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศ คนที่ต้องย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ หรือมีความจำเป็นต้องใช้เงินสลับไปมาระหว่างหลายสกุลเงิน
การฝาก กรณีเป็นเงินที่มีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ (เช่น รายได้ ค่าบริการ เงินลงทุนที่ได้รับมาจากต่างประเทศ) สามารถฝากได้ไม่จำกัดจำนวน และไม่ต้องแสดงภาระผูกพันในต่างประเทศ ส่วนกรณีฝากธนบัตรเงินตราต่างประเทศ สามารถฝากได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาหรือเทียบเท่า
การถอน สามารถทำการถอนได้โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
- เพื่อชำระภาระผูกพันของตนเอง หรือของธุรกิจในเครือให้แก่บุคคลในต่างประเทศ
- เพื่อชำระหนี้เงินตราต่างประเทศของตนเอง หรือของธุรกิจในเครือให้แก่ธนาคารรับอนุญาต
- เพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตนเอง ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการฝากเงินตราต่างประเทศตามที่กล่าวข้างต้นด้วย
- เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นก่อนฝากเข้าบัญชีสกุลอื่นของตนเอง หรือแลกเปลี่ยนแล้วนำเงินตราต่างประเทศดังกล่าวไปชำระภาระให้แก่บุคคลในต่างประเทศ หรือชำระหนี้ให้แก่ธนาคารรับอนุญาตทันที
- เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท
- นิติบุคคลสามารถถอนเงินจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศประเภทแหล่งต่างประเทศ (ที่มีแหล่งเงินได้มาจากค่าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ) ของตนเอง เข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของคู่ค้าในประเทศเพื่อชำระค่าสินค้าบริการได้
บัญชีเงินกู้ (Loan Account)
สินเชื่อบ้าน
สินเชื่อบ้าน คือ บัญชีเงินกู้ที่ทำการกู้ยืมมาจากธนาคารใดธนาคารหนึ่งในระยะยาว เพื่อนำมาสร้างหรือซื้อบ้านที่เราต้องการ และหมายรวมถึง คอนโด อาคารพาณิชย์ ทาวโฮม และทาวเฮาท์ด้วย โดยผู้กู้จะต้องนำที่อยู่อาศัยนั้นแหละเป็นสิ่งค้ำประกันการจำนอง หรือหากคุณมีสินเชื่อบ้านอยู่แล้วแต่อยากเปลี่ยนสถาบันการเงินใหม่ที่มีข้อเสนอที่ดีกว่า คุณก็สามารถทำการไถ่ถอนสินเชื่อเดิมที่มีอยู่และมาเข้ากับธนาคารใหม่ได้ เรียกวิธีการนี้ว่า “รีไฟแนนซ์บ้าน”
สินเชื่อบุคคล
สินเชื่อส่วนบุคคล หมายถึง การกู้ยืมเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินซึ่งอาจมีสินทรัพย์ค้ำประกันหรือไม่มีก็ได้ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ธนาคารจะดำเนินการโอนเงินจำนวนที่ได้รับอนุมัติเข้าสู่บัญชีธนาคารตามที่ระบุไว้ในใบสมัคร โดยวงเงินที่จะอนุมัตินั้นจะอยู่ในอัตราสูงสุดประมาณ 5 เท่าของเงินเดือนหรือตามมูลค่าของสินทรัพย์ที่นำมาค้ำประกัน เมื่อนำเงินสดออกมาใช้ก็สามารถแล้วจึงทยอยผ่อนชำระในแต่ละครั้งเป็นจำนวนเงินที่เท่ากันหรือชำระเงินเต็มจำนวนก็จะปราศจากดอกเบี้ย (แล้วแต่เงื่อนไขของแต่ละธนาคาร)
ข้อดีของสินเชื่อส่วนบุคคล คือสามารถผ่อนชำระได้นานมาก อาจจะเป็นระยะเวลา 12-48 เดือนในกรณียอดหลักแสนบาทขึ้นไป แต่ก็ควรจะพิจารณาให้ดี เพราะยิ่งผ่อนนานเท่าไรดอกเบี้ยก็จะยิ่งสูงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การที่จะปิดชำระหนี้ก่อนที่จะครบกำหนดการผ่อนชำระก็เป็นทางออกที่ดี เมื่อเราสามารถปิดชำระหนี้ก่อนกำหนดดอกเบี้ยก็จะถูกคำนวนในอัตราที่ต่ำลง อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจทำได้กับเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีการคิดดอกเบี้ยลดต้นลดดอกเท่านั้น สำหรับในกรณีสินเชื่อส่วนบุคคลอื่น ๆ ที่มีการคิดอัตราคงที่ก็อาจจะไม่สามารถทำได้ นอกเสียจากจะมีการรีไฟแน้น ซึ่งในส่วนนี้ต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและโปรโมชั่นของแต่ละธนาคารให้ดีก่อนยื่นขอสินเชื่อบุคคลหรือทำการรีไฟแนนซ์
สินเชื่อสวัสดิการทหาร
บัญชีเงินกองทุน (Mutual Fund Account)
กองทุนรวม (Mutual Fund) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นการลงทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในหุ้นรายตัว
กองทุนรวม คือ การที่ผู้จัดการกองทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลระดมเงินทุนจากคนจำนวนมากเพื่อลงทุนตามนโยบายต่างๆ ของกองทุนนั้น แล้วนำผลกำไรที่ได้มาเฉลี่ยคืนให้ผู้ซื้อหน่วยลงทุน ข้อดีของกองทุนรวมคือเป็นการลงทุนที่มีผู้เชี่ยวชาญบริหารจัดการให้ ข้อเสียของกองทุนรวมคือเป็นบริการที่มีค่าธรรมเนียม ทำให้ได้ผลตอบแทนน้อยลง ผลตอบแทนของกองทุนรวมแบ่งออกเป็น 2 แบบ เหมือนกับการลงทุนในหุ้นคือผลตอบแทนจากการปันผล (Dividend) และผลตอบแทนจากการซื้อขาย (Capital Gain) กองทุนรวมในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 8 ประเภทตามระดับความเสี่ยง การลงทุนในกองทุนรวม ควรพิจารณาจาก 3 ข้อ คือ เงินทุน ความเสี่ยง จุดประสงค์ในการลงทุน
บัญชีบัตรเครดิต (Credit Card Account)
บัตรเครดิตก็เป็นอีกหนึ่งสินเชื่อ เหมาะสำหรับลูกค้าหรือธุรกิจที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศหรือสินค้าออนไลน์อยู่บ่อยครั้ง เพราะ บัตรเครดิตช่วยยืดระยะเวลาการจ่ายเงินให้กับคุณได้ ส่วนใหญ่อยู่ที่ 45-56 วัน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าหรือธุรกิจของคุณมีกระแสเงินสดที่ดีขึ้นรวมถึงมีการบันทึกการใช้จ่ายผ่านระบบเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณอีกด้วย
บัญชีประกันภัย (BANCassurance Account)
BANCassurance คือ สินค้าประกันชีวิต หรือ สินค้าประกันภัย (non-life assurance) ที่ธนาคารขายให้กับบริษัทคู่ค้าของธนาคาร โดยมีสินค้าประกันในรูปแบบเฉพาะที่ทางบริษัทประกันออกให้
บัญชีสินทรัพย์(Treasury Account)
Investment involves risk, value of investment may move up or down, and may become worthless. The risk of loss in trading options and leveraged foreign exchange trading can be substantial and may exceed your initial margin funds.
Some of the investment products are structured products which involve derivatives. Do not invest in the product unless you fully understand and are willing to assume the risks associated with it.