KYC Catalog
home
กระบวนการทำความรู้จักลูกค้า (Know Your Customers: KYC)
กระบวนการทำความรู้จักลูกค้า เป็นกระบวนการวิธีปฏิบัติเพื่อให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า รวมถึงผู้รับผล
ประโยชน์ (Ultimate beneficial owner) และผู้มีอํานาจควบคมการทำาธุรกรรมในบัญชี (Controlling person) เพื่อที่จะสามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับลูกค้าตามข้อมูลที่เป็น รวมถึงคอยสอดส่องเพื่อดูว่า มีใครที่ประสงค์ไม่ดีจะมาใช้ธนาคาร และ/หรือ บริษัทคู่ค้าของธนาคาร เป็นช่องทางในการฟอกเงิน หรือสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อนร้ายร้ายหรือไม่ ถ้าสงสัยว่ามี ก็ต้องรายงานาธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัยต่อ ปปง. (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) ทันที
ซึ่งกระบวนการที่จะทำให้ทราบถึงตัวตนที่แท้จริงของลูกค้าก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่ ธนาคาร และ/หรือ บริษัทคูุ่ค้าของธนาคาร ต้องทำตามกระบวนการในการ KYC นั้น อันประกอบไปด้วย
- กระบวนการรู้จักลูกค้าที่สามารถระบุตัวตน (Identification)
- กระบวนการพิสูจน์ตัวตน (Verification)
- กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้า (Customer Due Diligent: CDD)
การเปิดบัญชีธนาคาร ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การกู้เงิน หรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ ลูกค้าจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าและผ่านกระบวนการข้างต้น เพื่อเป็นการยืนยันและป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการโจรกรรม และวิธีการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าระบบที่มักเห็นกันบ่อยมากที่สุด คือ การใช้รหัสผ่าน แต่ก็ยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ดีหากรหัสผ่านถูกขโมยไป
กระบวนการรู้จักลูกค้าที่สามารถระบุตัวตน (Identification)
- แบบพบเห็นลุกค้าต่อหน้า (Face-2-Face) : ให้บริการแก่ลูกค้าทุกประเภทเป็นการทั่วไปทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา
- แบบผ่านช่องทางอิเลคทรอนิคส์ (Non Face-2-Face) : ให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทย
นอกจากนี้ ก่อนเปิดบัญชีหรือเริ่มทําธุรกรรมกับลูกคู้า ธนาคารจะต้องดําเนินการตรวจสอบชื่อของลูกค้าผู้ขอเปิดบัญชี ผู้รับผลประโยชน์ ผู้มีอำนาจควบคุม และชื่อของบุคคล กับรายชื่อบุคคล ประเทศ และ ประเภทธุรกิจหรืออาชีพ ที่ธนาคารควรใช้ความระมดระวังในการทำธุรกรรม เพื่อใช้ในการจัดระดับความเสี่ยงของลูกค้า ซึ่งถือเป็นสวนหนึ่งของกระบวนการระบุตัวตนของลูกค้า
กระบวนการพิสูจน์ตัวตน (Verification)
เมื่อลูกค้าผ่านกระบวนการ Identification แล้ว ธนาคาร และ/หรือ บริษัทคู่ค้าของธนาคาร จำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวตนของลูกค้า
ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในวงการการเงินเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับกระบวนการ KYC อยู่หลายรูปแบบด้วยกัน อาทิ
- Digital ID verification: อีกหนึ่งรูปแบบที่เราเริ่มเห็นการนำมาใช้ คือ การยืนยันตัวตนโดยอาศัยการอ่านข้อมูลจาก Chip Card ของบัตรประชาชน (Citizen Card) ผ่าน Card Reader, อ่านข้อมูลจากหนังสือเดินทาง Passport ผ่าน NCF, ถ่ายภาพ บัตรประชาชนหรือ หนังสือเดินทาง หรือแม้กระทั่งบัตรเครดิตโดยตรง แทนที่ทางธนาคารจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยถามหาเอกสารผ่านทางอีเมล แฟกซ์ หรือถ่ายเอกสารแล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่โดยตรง ซึ่งไม่สะดวกต่อผู้ใช้และอาจเกิดจากความผิดพลาดในการกรอกข้อมูล
- Biometric Authentication: คือ การเข้าระบบผ่านการยืนยันตัวตนโดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ อาทิเช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา การจดจำใบหน้า ธนาคารเล็งเห็นว่า ยังมีคนจำนวนมากที่ต้องการใช้บริการของทางธนาคารนอกเวลาทำการ ซึ่งบางธุรกรรมเดิมต้องเจอเจ้าหน้าที่เท่านั้นถึงจะทำได้ นอกจากนี้ การยืนยันผ่านบุคคล มีโอกาสผิดพลาดสูง เนื่องจากต้องใช้วินิจฉัยส่วนบุคคล TMB จึงได้พัฒนาระบบสนับสนุนให้ แอพพลิเคชั่นของธนาคาร และ/หรือ แอพพลิเคชั่นของบริษัทคู่ค้าของธนาคาร สามารถยืนยันตัวตนของลูกค้าของธนาคารด้วยเทคโนโลยีแสกนใบหน้า (Face Recognition)
กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้า (Customer Due Diligent: CDD, Enhance Due Diligent: EDD)
เมื่อลูกค้าผ่านการระบุตัวตนแล้ว ธนาคารจะจัดแบ่งกลุ่มลูกค้าตามระดับความเสี่ยง โดยกลุ่มที่จะถูกตรวจสอบข้อมูลในระดับที่เข้มงวดหรือถูกจับตามองเป็นพิเศษจะเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีลักษณะไม่ยอมให้ความร่วมมือในการเปิดเผยข้อมูล หรือเป็นบุคคลมีประวัติเคยกระทำความผิดฐานฟอกเงินมาก่อน หรือมีการประกอบอาชีพที่มีแนวโน้มว่าจะนำเงินผิดกฎหมายมาประกอบธุรกิจ ดังนั้นมีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้าที่เปิดเผยกับธนาคาร หรือบริษัทคู่ค้าของธนาคาร โดยเฉพาะลูกค้าที่มีความระดับความเสี่ยงที่สูง ธนาคารจำเป็นต้องทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงในข้อมูลของลูกค้าหรือการทำ CDD นั่นเอง
ทั้งธนาคารพิจารณาความเข้มงวดของการทํา KYC/CDD/EDD ตามระดบความเสี่ยงที่ลกค้าอาจใช้ธนาคาร และ/หรือ บริษัทคู่ค้าของธนาคารเป็นช่องทางในการฟอกเงิน กล่าวคือ ลกค้าที่มีความเสี่ยงในการฟอกเงินมากกว่า จะต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลกค้าที่เข้มงวดมากขึน (Enhance Due Diligent : EDD)